Week 8: Adobe Captivate 9 (1) เครื่องมือในโปรแกรม Adobe Captivate 9

   Adobe Captivate 9

     เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างสื่อการเรียนการสอน หรือสื่อการนำเสนอในรูปแบบ Interactive Multimedia ที่สามารถสร้างสื่อมัลติมีเดียได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การจับภาพ หน้าจอเพื่อน นำไปสร้างสื่อการเรียนการสอน การสร้างสื่อนำเสนอจากข้อมูลต่างๆ ทั้งข้อความ และรูปภาพ การสร้างแบบทดสอบ

   โปรแกรม Adobe Captivate มีลักษณะเป็นโปรแกรมที่สร้างสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) คล้ายกับโปรแกรม Autoware ผสมผสานกับโปรแกรม  Flash แต่มีการปรับให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น โดยมีการสร้างงานแบบสไลด์ในการออกแบบและมี Timeline ในการดำเนินเรื่องราว นอกจากนี้ยังสามารถใส่สคริปต์ต่างๆเพื่อให้สามารถทำงานแบบปฏิสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกบโปรแกรม Flash

เริ่มต้นใช้งาน Adobe Captivate 9

ส่วนประกอบหน้าจอแรกของโปรแกรม Adobe Captivate 9

👉Recent คือ การแสดงไฟล์ล่าสุดที่เคยบันทึกไว้ในโปรแกรม เปิดไฟล์ที่เคยบันทึกไว้
👉New คือ การสร้างงานใหม่ขึ้นมาในรูปแบบต่างๆ (สำหรับการเริ่มต้นใช้งาน) จากคำสั่ง New ให้คลิก Blank Project คือ การเริ่มต้นสร้างโปรเจ็คจากสไลด์เปล่า

ส่วนประกอบหน้าต่างโปรแกรม Adobe Captivate 9
1. เมนูหลัก (Menu Bar)
        - File สำหรับการสร้าง/เปิดไฟล์ใหม่ การบันทึก การพิมพ์ชิ้นงาน การส่งออกเพื่อใช้โปรแกรม
        - Edit สำหรับการคัดลอก วางภาพ ข้อความ หรือแผ่นสไลด์ ตลอดจนการกำหนดค่าของโปรแกรม
        - View มุมมองของหน้าจอ การปรับหน้าจอขนาดต่างๆ การล็อค การซ่อสไลด์
        - Insert สำหรับการนำเข้าวัตถุต่างๆ เช่น เพิ่มสไลด์ เพิ่มข้อสอบ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สัญลักษณ์ สูตรคณิตศาสตร์และปุ่มต่างๆ
        - Modify สำหรับการเปลี่ยนขนาดดของจอแสดงผล กำหนดตำแหน่งการจัดเรียงวัตถุต่างๆบนหน้าจอ
        - Project สำหรับการเปลี่ยนรูปร่างหน้าตา การสร้างตัวแปร
        - Quiz สำหรับสร้างข้อสอบรูปแบบต่างๆ และการกำหนดค่าของข้อสอบ
        - Audio สำหรับจัดการเกี่ยวกับเสียง เช่น การนำเข้าและการตัดต่อเสียง
        - Video สำหรับจัการเกี่ยวกับวิดีโอ เช่น การนำเข้าไฟล์วิดีโอและตัดต่อไฟล์วิดีโอ
        - Themes สำหรับการจัดการเกี่ยวกับรูปแบบสไลด์ เช่น การบันทึกรูปแบบธีม
        - Window สำหรับการเปิด/ปิดการใช้งานพาเนล(Panel)ต่างๆบนหน้าจอ เช่น Timeline Filmstrip Effects และ Properties
2. แถบควบคุมสไลด์
        - Slides เพิ่มสไลด์
        - Themes เลือกปรับแต่งธีมในรูปแบบต่างๆ
        - Text เพิ่มข้อความรูปแบบต่างๆ
        - Shapes เพิ่มรูปวาดต่างๆที่โปรแกรมมีไว้ให้
        - Object เพิ่มคำสั่ง
        - Interactions เพิ่ม Interactions
        - Media เพิ่มสื่อรูปแบบต่างๆ เสียง คลิปวิดีโอ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว สัญลักษณ์ เป็นต้น
        - Record บันทึกเสียงตนเอง พร้อมปรบแต่งเสียง
        - Save บันทึกไฟล์ข้อมูล
        - Preview ทดสอบการแสดงผลในรูปแบบต่างๆ เช่น แสดงทั้งโปรเจ็ค แสดงสไลด์ปัจจุบัน
        - Publish เผยแพร่ ส่งออกไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ
3. Panel Groups แถบคำสั่งกำหนดค่าต่างๆ

        - Properties เป็นการกำหนดค่าของวัตถุต่างๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ ปุ่มเชื่อมโยง เป็นต้น โดยเมนูจะเปลี่ยนไปตามวัตถุที่เลือกใช้งานอยู่ในขณะนั้น ซึ่งโปรแกรมจะแสดงผลของการปรับแต่งโดยอัตโนมัติในทันที

     - Library เป็นแถบที่รวมวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนหน้าจอมาไว้ที่นี่ เมื่อเรานำภาพ เสียง หรือวิดีโอ มาวางบนพื้นที่การทำงาน โปรแกรมจะนำมาไว้ใน Library ให้โดยอัตโนมัติถ้าหากต้องการ นำมาใช้อีกก็สามารถนำวัตถุที่อยูใน Library มาวางไว้บนพื้นที่การทำงานและกำหนด Property ใหม่ได้ทำให้ประหยัดเพราะไม่ต้องนำเข้าวัตถุใหม่

        - Timing เป็นการกำหนดค่าการแสดงผลให้กับสไลด์และวัตถุต่างๆ เช่น การกำหนด ระยะเวลาเล่น การใส่เอฟเฟ็กต์ในการแสดงผล

การแทรกวัตถุชนิดต่างๆ

1. แทรกกล่องข้อความ (Text Caption)

👉การเพิ่มข้อความในสไลด์จะต้องเลือกที่ Text > Text Caption

👉กำหนดคุณสมบัติต่างๆที่พาเนล Properties

        Style เป็นการกำหนดรูปแบบให้กับรูปทรง 
            - Caption Type กำหนดกรอบให้กับข้อความ
            - Character กำหนดรูปแบบให้กับข้ความ
            - Margins กำหนดระยะห่างของข้อความ
            - Shadow and Reflection กำหนดเงาและการสะท้อน
        Option เป็นการกำหนดรูปแบบเพิ่มเติม
            - Audio เป็นการกำหนดเสียงให้กับสไลด์ โดยคลิกที่ Ad Audio
            - Transform เป็นการกำหนดตำแหน่ง ขนาด การหมุดของกล่องข้อความ
2. แทรกกล่องข้อความแบบกรอกข้อมูล (Text Entry Box)

        กล่องข้อความแบบกรอกข้อมูล เป็นวัตถุที่ให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความลงไปได้ เหมาะสมกับการให้ผู้ใช้กรอกรายละเอียด เช่น ชื่อขนามสกุล ลงไปบนสไลด์ได้
👉การเพิ่มข้อความแบบกรอกข้อมูลในสไลด์จะต้องเลือกที่ Text > Text Entry Box 

👉กำหนดค่าการแสดงผล การรับค่าที่ Style

        กำหนดคุณสมบัติให้กับช่องกรอกข้อมูล

            - Default Text กำหนดรูปแบบให้กับช่องกรอกข้อมูล

            - Retain Text กำหนดให้จำข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกลงไป

            - Password Field กำหนดให้เป็นช่องสำหรับกรอกรหัสผ่าน

            - Validate User Input กำหนดให้มีคำตอบที่ถูกต้องและกำหนดกล่องข้อความ Success, Failure และ Hint

            - Variable กำหนดตัวแปรให้กับช่องกรอกข้อมูล

            - On Focus Lost กำหนดเหตุการณ์เมื่อไม่มีการกรอกข้อมูล

ความคิดเห็น